ตรวจสุขภาพทำงานที่สูง ถือเป็นเรื่องสิ่งสำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ปฏิบัติงานมีความพร้อม และสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการพลัดตก หรืออุบัติเหตุที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
สำหรับผู้ที่ต้องขอใบรับรองแพทย์ ทํางานที่สูง นายจ้างและผู้ปฏิบัติงานควรทราบว่ามีการตรวจอะไรบ้างและใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน เพื่อปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัยในการทำงานได้อย่างถูกต้อง

เรื่องน่ารู้การตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงานพื้นที่สูง
- การทำงานบนพื้นที่สูง คืออะไร
- ความเสี่ยงของการทำงานบนที่สูง
- ทำไมต้องตรวจสุขภาพทํางานที่สูง
- ข้อดีของการตรวจสุขภาพทํางานที่สูง
- ผู้ที่ต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพทํางานบนที่สูง
- ตรวจสุขภาพทำงานที่สูง ราคาเท่าไร
- ตรวจสุขภาพทำงานที่สูง ตรวจอะไรบ้าง
- เตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพทำงานพื้นที่สูง
- เอกสารที่ต้องใช้เพื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพ
- ใช้เวลาตรวจนานไหม
การทำงานบนพื้นที่สูง คืออะไร
การทำงานบนที่สูง คือ การทำงานในพื้นที่ปฏิบัติงานที่สูงจากพื้นดินหรือพื้นอาคารตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป ที่อาจทำให้ลูกจ้างพลัดตกลงมาได้
ในปัจจุบันนอกจากการจัดพื้นที่การทำงานให้มีความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานแล้ว ตรวจสุขภาพคนทำงานบนที่สูง ก็เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายให้ความสำคัญ เนื่องจากสภาวะร่างกายที่ไม่สมบูรณ์หรือโรคประจำตัวบางอย่างนั้นอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อพนักงานได้ จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสุขภาพก่อนเพื่อความมั่นใจและความปลอดภัยในการทำงานด้วย
ทั้งนี้พนักงานทำงานบนที่สูงต้องไม่เป็นโรคที่อาจเกิดอันตรายต่อการทำงาน เช่น โรคลมชัก, โรคระบบหัวใจ, โรคกลัวความสูงหรือโรคหลอดเลือด เป็นต้น
(อ้างอิงจากนิยามของ พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกระทรวงแรงงาน)

ความเสี่ยงของการทำงานบนพื้นที่สูง
- อุบัติเหตุจากการตกจากที่สูง (สาเหตุหลักของการเสียชีวิตในงานก่อสร้าง)
- ความเสี่ยงจากการเสียสมดุลหรือเวียนศีรษะ
- การสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าเมื่อทำงานใกล้สายไฟแรงสูง
- ความเมื่อยล้าหรือหมดสติเนื่องจากขาดออกซิเจนในพื้นที่อับอากาศที่อยู่สูง
- อากาศร้อนจัดหรือสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อร่างกาย
ทำไมต้องตรวจสุขภาพทํางานที่สูง
ตรวจสุขภาพปฏิบัติงานบนที่สูง มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากงานลักษณะนี้มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะการพลัดตกจากที่สูง ซึ่งอาจทำให้บาดเจ็บรุนแรงหรือเสียชีวิตได้

ข้อดีของการตรวจสุขภาพทํางานที่สูง
- ช่วยให้ทราบถึงความแข็งแรงของร่างกายว่าพร้อมปฏิบัติงานหรือไม่
- รู้ถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ ที่อาจกระทบกับการทำงาน
- ลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อกรณีมีโรคติดต่อ
- ลดอันตรายของโรคที่อาจกำเริบระหว่างปฏิบัติงาน
- ใช้ผลตรวจเป็นแนวทางในการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม กรณีพบความผิดปกติ
ผู้ที่ต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพทํางานบนที่สูง
- พนักงานที่ต้องทำงานบนที่สูงตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป เช่น งานก่อสร้าง งานซ่อมบำรุงบนหลังคา งานติดตั้งเสาสัญญาณ งานทาสีอาคารสูง
- ผู้ที่ทำงานในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการตกจากที่สูง เช่น งานติดตั้งโครงเหล็ก งานซ่อมแซมสะพาน งานเช็ดกระจกอาคารสูง
- ผู้ที่ต้องปีนป่ายหรือทำงานบนโครงสร้างที่ไม่มีราวกั้น เช่น งานติดตั้งระบบไฟฟ้า งานบนเครน งานในโรงงานอุตสาหกรรม
- พนักงานที่นายจ้างกำหนดให้ต้องมีใบรับรองแพทย์ก่อนเริ่มงาน นายจ้างบางแห่งต้องการให้พนักงานตรวจสุขภาพก่อนทำงานเพื่อความปลอดภัย
- ผู้ที่ต้องทำงานในสถานที่ที่มีข้อกำหนดด้านความปลอดภัยสูง เช่น งานบนแท่นขุดเจาะน้ำมัน งานซ่อมบำรุงเครื่องจักรในที่สูง

ตรวจสุขภาพทำงานที่สูง ตรวจอะไรบ้าง
สำหรับการตรวจสุขภาพเพื่อขอใบรับรองแพทย์ ทํางานที่สูง ที่อินทัชเมดิแคร์คลินิกมีรายการตรวจดังต่อไปนี้
- ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ / Physical Examination
- ใบรับรองแพทย์ 5 โรค / Medical Certificate
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด / DTX
- การตรวจสายตาเบื้องต้น / Visual Acuity Test
- ตรวจตาบอดสี / Color Blind
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ / Electrocardiogram
- ตรวจการตั้งครรภ์ / Pregnancy Test (ผู้หญิง)
- คัดกรองภาวะซึมเศร้าและการทำร้ายตัวเอง (คัดกรองเบื้องต้น) / Depression and Risk of suicide
- เอกซเรย์ปอด / Chest X-Ray
- ตรวจสมรรถภาพปอด / Pulmonary Function Testing
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด / CBC
- ตรวจการได้ยิน / Audiometric Test

อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม ให้บริการตรวจสุขภาพปฏิบัติงานบนที่สูง ด้วยขั้นตอนที่สะดวก รวดเร็ว ในราคาสบายกระเป๋า ดูแลโดยแพทย์และพยาบาลวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญ พร้อมอุปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อให้คุณมั่นใจได้ถึงความแม่นยำของผลตรวจ
ผู้สนใจสามารถรับบริการได้จากสาขาใกล้บ้าน โดยค้นหาจากคลินิกใกล้ฉัน เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมและขอทราบเส้นทาง หรือสอบถามได้จากช่องทางการติดต่อบนหน้าเว็บไซต์ค่ะ
บทความที่น่าสนใจ
- อาชีพที่ต้องตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงานบนที่สูง เช็คเลย!
- การทํางานบนที่สูง คืออะไร ทำงานอย่างไรให้ปลอดภัย

นายอัชวิน ธรรมสุนทร
ผู้จัดการทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 15/03/2025
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com