ฝังยาคุม ข้อมูลที่คุณควรรู้!
- ฝังยาคุมกำเนิดคืออะไร
- ฝังยาคุมป้องกันการตั้งครรภ์อย่างไร
- ประเภทของยาฝังคุมกำเนิด
- ราคาฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด
- รีวิวลูกค้าที่ฝังยาคุมกับเรา
- ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฝังยาคุม
- เรื่องควรรู้เกี่ยวกับยาฝังคุมกำเนิด
- ผลข้างเคียงของยาคุมกำเนิดแบบฝัง
- ข้อห้ามของยาฝังคุมกำเนิด

ฝังยาคุมกำเนิดคืออะไร
ฝังยาคุมกำเนิด หมายถึง การใส่แท่งยาคุมไว้ในผิวหนัง ห่างจากข้อพับแขนขึ้นมาประมาณ 8 – 10 ซม. ฝังใต้ท้องแขนด้านที่ใช้งานน้อยหรือข้างที่ไม่ถนัด ภายในแท่งยาคุมมีการบรรจุฮอร์โมนโปรเจสตาเจนหรือฮอร์โมนลีโวนอร์เจสเตรล
ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้เป็นเวลา 3 หรือ 5 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของยา
ฝังยาคุมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ใช้เวลาไม่นาน คุมกำเนิดได้อย่างปลอดภัย สะดวก รวดเร็วและไม่เจ็บแผล
ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์นาน 3 – 5 ปี มีข้อดีข้อเสียและผลข้างเคียงที่ควรรู้ในบทความนี้ เมื่อถอดออกแล้วจะไม่ส่งผลเรื่องการมีลูกยาก เพราะเลิกใช้ยาคุมแบบฝังแล้วร่างกายจะปรับฮอร์โมนให้กลับมาเป็นปกติได้ภายใน 1 เดือน จึงมีโอกาสตั้งครรภ์สูงค่ะ
ประสบการณ์การฝังยาคุมของแพทย์

“หมอเคยทำเคสฝังยาคุมแบบ 3 ปีครั้งแรก คนไข้เข้ามารับบริการขณะที่เป็นประจำเดือนอยู่ จึงต้องมีการให้คำปรึกษาว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง หลังจากนั้นคนไข้ตกลงฝังยาคุมแบบ 3 ปี
แพทย์ได้ทำการฝังยาคุมได้สำเร็จในไม่กี่นาที และหลังจากนัดติดตามอาการ แผลแห้งดี ไม่มีรอยบวมหรือฟกช้ำค่ะ”
– แพทย์หญิงอรอุมา เพียรผล
แพทย์ประจำอินทัชเมดิแคร์คลินิก –
ยาฝังคุมกำเนิดถือเป็นการคุมกำเนิดที่ปลอดภัย สะดวก และมีประสิทธิภาพสูงหากฉีดตรงเวลาต่อเนื่อง
อ่านเพิ่มเติม : 12 ข้อดีฝังยาคุมกำเนิดมีอะไรบ้าง? และข้อเสียที่ควรรู้!

ฝังยาคุมป้องกันการตั้งครรภ์อย่างไร
- ทำให้มูกบริเวณปากมดลูกเหนียวขึ้นหรือข้นขึ้นมากกว่าปกติ ดังนั้นอสุจิฝ่ายชายมีโอกาสผ่านเข้าไปได้ยากมากขึ้น
- หากอสุจิหลุดเข้าไป มีผลให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง ทำให้เกิดภาวะไม่เหมาะสมในการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสมแล้ว
- ป้องกันหรือยับยั้งการตกไข่
ประเภทของยาฝังคุมกำเนิด
ประเภทของยาฝังคุมกำเนิดแบ่งได้ตามลักษณะของตัวยา
- ประเภทที่ 1 ตัวยาสำคัญที่ใช้คือฮอร์โมนชนิดเดี่ยว คือ ฮอร์โมนโปรเจสตาเจน (Progestagen) ตัวยาในกลุ่มนี้ที่ถูกนำมาใช้เป็นยาฝังคุมกำเนิดคือ เอโทโนเจสเตรล (Etonogestrel) ซึ่งช่วยคุมกำเนิดได้ 3 ปี มี 1 แท่ง
- ประเภทที่ 2 คือ ฮอร์โมนเลโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) ซึ่งช่วยคุมกำเนิดได้นานถึง 5 ปี มี 2 แท่ง
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ : ยาฝังคุมกำเนิด 2 ชนิด ประกอบด้วยตัวยาอะไรบ้าง
1. ฝังยาคุมกำเนิดแบบ 3 ปี (1 แท่ง)
ยาคุมฝังแบบ 3 ปี ยี่ห้อที่นิยมคือ Implanon (อิมพลานอน) ประกอบด้วยแท่งยา 1 แท่ง ขนาดประมาณ 2 x 40 มิลลิเมตร มียาอีโทโนเจสตริลขนาด 68 มิลลิกรัม ยาฝังจะปล่อยฮอร์โมนออกมาวันละ 60 – 70 ไมโครกรัมในสัปดาห์ที่ 5 – 6
และในช่วงท้ายของปีแรกจะลดลงเหลือ 35 – 45 ไมโครกรัมต่อวัน ในช่วงท้ายปีที่ 2 จะลดลงเหลือประมาณ 35 – 45 ไมโครกรัมต่อวัน และในช่วงท้ายของปีที่3 จะลดลงเหลือ 25 – 30 ไมโครกรัมต่อวัน สามารถช่วยคุมกำเนิดได้นาน 3 ปี
2. ฝังยาคุมกำเนิดแบบ 5 ปี (2 แท่ง)
ยาคุมฝังแบบ 5 ปี เช่น ยี่ห้อ Jadelle (จาเดลล์) มักได้รับความนิยม ประกอบด้วยแท่งยาที่บางและยืดหยุ่นได้จํานวน 2 แท่ง ขนาดประมาณ 2.5 x 43 มิลลิเมตร แต่ละแท่งจะมีฮอร์โมนลีโวนอร์เจสเตรล 75 มก. ยาฝังจะค่อยๆ ปล่อยฮอร์โมนลีโวนอร์เจสเตรลออกมาในปริมาณ วันละ 40 – 100 ไมโครกรัม
ช่วงแรกจะปล่อยฮอร์โมนออกมาสูงแล้วค่อยๆ ลดลงจนคงที่ ออกฤทธิ์นาน มีประสิทธิผลนานถึง 5 ปี (ฮอร์โมนชนิดนี้เป็นหนึ่งในตัวยาสําคัญของยาคุมชนิดเม็ดหลายยี่ห้อในท้องตลาด) ออกฤทธิ์ทันทีที่ฝั่งยาคุมเข้าใต้ผิวหนัง
ราคาฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด

- ฝังยาคุมกำเนิดแบบ 3 ปี 1 เข็ม ราคา 5,650 บาท
- ฝังยาคุมกำเนิดแบบ 5 ปี 2 เข็ม ราคา 5,990 บาท
- ถอดเข็มยาคุม ราคาเริ่มต้น 2,900 บาท
- หมายเหตุ : กรณีที่ไม่อยู่ช่วงการมีประจำเดือน มีค่าบริการตรวจการตั้งครรภ์เพิ่มเติม
รีวิวลูกค้าที่ฝังยาคุมกับเรา

หลัง 3 วัน อาจเกิดรอยซ้ำได้ แต่จะหายเป็นปกติในภายหลัง

ในบางรายมีรอยช้ำแค่เพียงเล็กน้อย

หลังครบ 7 วัน เป็นรอยแผลขนาดเล็ก ไม่กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน

“มีเคสยากที่เคยฝังยาคุมมาแล้วเกินกำหนดหลายปีต้องการเอาออกและฝังใหม่ หมอได้คลำบริเวณท้องแขนพบหลอดยาฝังจึงทำการถอดยาฝังใช้เวลาหลายนาทีเพราะพังผืดเกาะค่อนข้างเยอะ
แต่ก็สามารถถอดเข็มยาฝังได้สำเร็จและสามารถฝังต่อแบบ 3 ปีได้เลย (คนไข้เป็นประจำเดือนวันที่2)หลังนัดติดตามอาการ 7 วัน พบแผลแห้งดี ไม่มีรอยช้ำค่ะ”
– แพทย์หญิงอรอุมา เพียรผล
แพทย์ประจำอินทัชเมดิแคร์คลินิก –

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฝังยาคุม
สูติแพทย์แนะนำว่าควรฝังภายใน 1 – 5 วันแรกของการมีประจำเดือน เพื่อให้มั่นใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ หรือภายหลังการแท้งลูกไม่เกิน 1 อาทิตย์ หรือหลังการคลอดไม่เกิน 4 – 6 สัปดาห์
หากฝั่งยาคุมนอกจากช่วงเวลาข้างต้นต้องตรวจการครรภ์ทุกครั้ง (ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ด้วย)
เรื่องควรรู้เกี่ยวกับยาฝังคุมกำเนิด

- การออกฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดแบบฝัง ถ้าฝังยาภายใน 5 วันนับจากวันแรกที่มีประจำเดือน ยาจะเริ่มป้องกันการตั้งครรภ์ได้ทันที ถ้าฝังในวันอื่นที่ไม่ใช่ช่วงมีประจำเดือน ต้องรอให้ยาออกฤทธิ์ประมาณ 7 วัน จึงจะป้องกันการตั้งครรภ์ได้เต็มที่
- ในกรณีเพิ่งคลอด ควรฝังยาคุมอย่างน้อย 3 สัปดาห์หลังคลอด แต่ถ้าฝังภายใน 21 วันหลังคลอด ยาจะออกฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์ทันที และถ้าฝังหลังจาก 21 วันไปแล้ว ต้องรออีก 7 วันให้ยาออกฤทธิ์เต็มที่
-
โรคหรือภาวะที่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฝัง ได้แก่ โรคภูมิแพ้ตัวเอง (SLE) ,โรคซึมเศร้ารุนแรง (ยารักษาอาจมีผลต่อยาฝัง) ,ไมเกรน ,ความดันโลหิตสูง ,โรคหัวใจ ,โรคหลอดเลือดสมอง ,โรคดีซ่าน
- ยาคุมแบบฝังราคาถือว่าสูงในระดับหนึ่งเมื่อเทียบกับยาคุมกำเนิดแบบเม็ดหรือฉีดยาคุม ดังนั้น ต้องรู้ว่ายาบางชนิดจะทำให้คุณภาพของการใช้งานลดลง ได้แก่ กลุ่มยาปฏิชีวนะ อาทิ ยา Rifabutin หรือยา Rifampicin, ยาแก้อาการลมชัก และยาสำหรับการรักษาผู้ป่วย HIV
- คุมกำเนิดด้วยวิธีนี้แทบไม่มีความเสี่ยงใดๆ โดยมีเพียง 2% ในช่วงระหว่างขั้นตอนฝั่งยาคุมอาจเกิดการติดเชื้อได้ (แต่นับว่าน้อยถึงน้อยมาก) ถ้าเกิดขึ้นจริงก็รักษาไม่ยุ่งยากด้วยการทำความสะอาดและใช้ยาบรรเทาอาการติดเชื้อ

ผลข้างเคียงของยาคุมกำเนิดแบบฝัง
- อาจพบว่าประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ นานกว่าปกติ เกิน 8 วัน ซึ่งเกิดขึ้นในปีแรก หลังจากนั้น สีเลือดจางลง เลือดออกเป็นปกติมากขึ้น โดยจะเกิดขึ้นนานๆ ครั้ง
- ไม่มีเลือดประจำเดือนเลย อาจมีอาการปวดหัว ปวดท้อง เจ็บคัดตึงบริเวณเต้านมได
- อาการข้างเคียงไม่ใช่อาการที่แสดงถึงการเจ็บป่วย ประจำเดือนหายไปไม่ใช่อาการที่แสดงว่าตั้งครรภ์
- ปกติอาการข้างเคียงส่วนใหญ่จะน้อยลงหรือหายไปในปีแรก แต่หากรู้สึกกังวลเรื่องอื่นก็สามารถปรึกษาแพทย์ที่คลินิกที่รับบริการได้เลย
อ่านเพิ่มเพิ่มเติม : ผลข้างเคียงฝังยาคุมกำเนิด เสี่ยงต่อสุขภาพไหม?
ข้อห้ามของยาฝังคุมกำเนิด

- ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันก่อนฝั่งยาคุมอย่างน้อย 7 วัน
- ทราบหรือสงสัยว่าอาจจะตั้งครรภ์
- เป็นโรคหลอดเลือดดำอุดตัน เช่น ขา ปอด หรือ ตา
- เป็นหรือมีประวัติเป็นเนื้องอกที่ตับ ชนิดที่เป็นมะเร็งและไม่เป็นมะเร็ง
- เป็นหรือมีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับตับ
- การทำงานของตับผิดปกติ (ดูจากผลตรวจห้องปฏิบัติการ)
- เป็นหรือสงสัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม
- เป็นหรือสงสัยว่าเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
- มีเลือดออกทางช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ
การคุมกำเนิดวิธีนี้ต้องทำโดยแพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ห้ามพยายามฝังเข็มยาคุมเองเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้
บทความที่น่าสนใจ
- 12 ข้อดีฝังยาคุมกำเนิดมีอะไรบ้าง? และข้อเสียที่ควรรู้!
- ข้อควรระวังก่อนฝังยาคุม! ที่ควรรู้ก่อนฝัง
- ผลข้างเคียงฝังยาคุม! มีอะไรบ้าง อ่านเลยๆ
- การปฏิบัติตัวหลังการฝังยาคุมกำเนิด มีวิธีการอย่างไร?
- รวมคำถาม-คำตอบยอดฮิต! เกี่ยวกับฝังยาคุม ที่ถามกันบ่อย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

พ.ญ.อรอุมา เพียรผล
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 18/06/2025
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com