ดูดเสมหะ ดูดน้ำมูก เป็นวิธีที่ช่วยเคลียร์ทางเดินหายใจ โดยใช้เครื่องดูดเสมหะเพื่อขจัดสารคัดหลั่งที่อุดกั้น ทำให้หายใจโล่งขึ้น วิธีนี้มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่มีเสมหะหรือน้ำมูกมากผิดปกติ เช่น ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง เด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุที่ไอ ขับเสมหะออกเองได้ยาก
บทความนี้จะพาคุณไปดูอาการที่ควรมาพบแพทย์ วิธีเตรียมตัว และวิธีการดูดเสมหะและน้ำมูกอย่างถูกต้อง
ข้อมูลน่ารู้เรื่องการดูดเสมหะและการดูดน้ำมูก
- ทำไมต้องดูดน้ำมูกและเสมหะ
- อาการที่ต้องดูดเสมหะ ดูดน้ำมูก
- ค่าบริการดูดเสมหะหรือดูดน้ำมูกที่คลินิก
- วิธีการดูดน้ำมูกและเสมหะ
- การเตรียมตัวก่อนดูดเสมหะสำหรับผู้ป่วย
- ดูดเสมหะเจ็บไหม
- ควรดูดน้ำมูกหรือเสมหะบ่อยแค่ไหน
- คำแนะนะแพทย์
Lorem ipsum dolor


วิธีการดูดน้ำมูกและเสมหะ
การดูดน้ำมูกในเด็กเล็ก
เด็กเล็กมักยังสั่งน้ำมูกเองไม่ได้ การดูดน้ำมูกช่วยให้เด็กหายใจสะดวก ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ และช่วยให้เด็กกินนมได้ดีขึ้น ใช้เครื่องดูดน้ำมูกที่เหมาะสมและทำอย่างอ่อนโยน
การดูดเสมหะในผู้ใหญ่หรือผู้ป่วย
ใช้ในกรณีที่มีเสมหะมากและไม่สามารถขับออกเองได้ เช่น ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือผู้ที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง แพทย์หรือพยาบาลอาจใช้เครื่องดูดเสมหะเพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น

คำแนะนำแพทย์
ที่คลินิกหมอมีอุปกรณ์ที่ปลอดภัยและเทคนิคที่เหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บและการติดเชื้อ
ในขณะดูดเสมหะให้ผู้ป่วย สามารถประเมินอาการและให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพทางเดินหายใจเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติกับผู้ป่วยได้
– แพทย์หญิงนิธิพร กุญชะโร –
แพทย์ประจำอินทัชเมดิแคร์สาขาอุดมสุข
ค่าบริการดูดเสมหะหรือดูดน้ำมูกที่คลินิก
- ดูดน้ำมูกหรือดูเสมหะ ราคาเริ่มต้น 1,490 บาท
- หมายเหตุ : ราคานี้ไม่รวมค่ายา และอาจมีการปรับเปลี่ยนตามคำวินิจฉัยของแพทย์

การเตรียมตัวก่อนดูดเสมหะสำหรับผู้ป่วย
- ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยให้เสมหะอ่อนตัวและขับออกได้ง่ายขึ้น
- งดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงก่อนดูดเสมหะ เพื่อลดอาการคลื่นไส้หรือสำลักระหว่างดูดเสมหะ
- แจ้งโรคประจำตัวหรือใช้ยาประจำ โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหัวใจ ปอด หรือมีภาวะเลือดออกง่าย
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ก่อนมาคลินิก ควันบุหรี่อาจทำให้เสมหะข้นและเหนียวขึ้น
- หายใจเข้า-ออกลึกๆ เพื่อช่วยให้ปอดขยายตัวและเสมหะเคลื่อนตัวออกมาได้ดีขึ้น
- ผ่อนคลาย ไม่ต้องกลัว เพราะแพทย์จะใช้วิธีที่ปลอดภัยและช่วยให้ผู้ป่วยสบายที่สุด

ดูดเสมหะเจ็บไหม
ผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่สบายตัวหรือเกิดอาการระคายเคืองได้ แต่ไม่ควรรู้สึกเจ็บ หากมีอาการเจ็บมากหรือหายใจลำบาก ต้องแจ้งแพทย์ทันที
ควรดูดน้ำมูกหรือเสมหะบ่อยแค่ไหน
ดูดน้ำมูกบ่อยหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับอาการ หากน้ำมูกหรือเสมหะข้นและขับออกเองไม่ได้ ควรดูดออกวันละ 2-3 ครั้ง หรือมากกว่านั้น แต่ไม่ควรดูดบ่อยเกินไปเพราะอาจทำให้เยื่อบุจมูกหรือหลอดลมระคายเคือง
ที่อินทัชเมดิแคร์ให้บริการดูดเสมหะและดูดน้ำมูก ที่คลินิก ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ สนใจเข้ารับบริการได้ทุกวัน ทุกสาขาใกล้บ้านคุณค่ะ มีแพทย์และพยาบาลประจำคลินิก ราคาสบายกระเป๋า สะดวกรวดเร็วและไม่ต้องรอคิวนาน

พ.ญ.นิธิพร กุญชะโร
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 01/04/2025
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com