ฉีดยาเข้าข้อเข่า หรือ ฉีดยาเข้าข้อ หลายคนได้ยินแล้วรู้สึกกังวล กลัวเจ็บ หรือกลัวผลข้างเคียง แต่จริงๆ แล้วการฉีดยาในลักษณะนี้เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในผู้ที่มีอาการปวดข้อจากโรคข้อเข่าเสื่อม ข้ออักเสบ หรือนิ้วล็อก
ซึ่งสามารถบรรเทาอาการได้อย่างรวดเร็วและช่วยให้กลับมาใช้งานข้อได้ใกล้เคียงปกติ เช่นเดียวกับการ “ฉีดรักษานิ้วล็อก” ที่ใช้วิธีฉีดยาเฉพาะจุดเพื่อลดการอักเสบและคลายการยึดติดของเส้นเอ็น

ฉีดยาเข้าข้อเข่าช่วยอะไร
ฉีดยาเข้าข้อเป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดและอาการอักเสบจากข้อเข่าเสื่อม เข่าบวม ปวดเข่าหรือบาดเจ็บ
ประเภทของยาฉีดเข้าข้อเข่า
สเตียรอยด์ (Corticosteroids)สเตียรอยด์ (Corticosteroids)
เป็นการฉีดเพื่อใช้บรรเทาอาการปวดเข่าที่มีสาเหตุมาจากการอักเสบ เนื่องจากสเตียรอยด์เป็นสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการอักเสบของเนื้อเยื่อเฉพาะที่ ทำให้คนไข้มีอาการที่เจ็บลดลง อักเสบลดลง มีการใช้ข้อเข่าได้ดีขึ้น โดยสเตียรอยด์สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว
กรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic Acid - HA)ลดอาการปวดอักเสบได้ภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมง
กรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic Acid – HA)
ปกติในข้อเข่าของจะมีน้ำเลี้ยงข้อที่มีส่วนประกอบหลักเป็น Hyaluronic Acid โดยการฉีดสารหล่อลื่นประเภทกรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic acid) เข้าไปในข้อเข่าโดยตรงจะช่วยให้ข้อเข่าทำงานได้ดีขึ้น ลดอาการข้อฝืด ตึง ลดอาการปวด
เพราะมีคุณสมบัติคล้ายของเหลวในข้อเข่ามนุษย์ เป็นสารหล่อลื่นผิวข้อเข่า ช่วยดูดซับแรงกระแทก ช่วยให้กระดูกอ่อนในข้อเข่าไม่เสียดสีกันรุนแรงพร้อมทั้งช่วยกระตุ้นเซลล์ผิวข้อให้เกิดการผลิตน้ำหล่อเลี้ยงข้อ โดยทั่วไปจะต้องฉีดทุกสัปดาห์เป็นเวลา 3 ถึง 5 สัปดาห์ติดต่อกัน
เกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP - Platelet-Rich Plasma)จะเริ่มเห็นผลการรักษาได้ในช่วง 2 ถึง 4 สัปดาห์หลังฉีด
เกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP – Platelet-Rich Plasma)
เป็นการนำเลือดของผู้ป่วยออกมาเข้าเครื่องปั่นความเร็วสูง เพื่อแยกเกล็ดเลือดแล้วฉีดของเหลวส่วนที่แยกออกมานี้เข้าไปยังบริเวณข้อเข่า โดยเกล็ดเลือดนี้จะช่วยส่งเสริมให้เนื้อเยื่อซ่อมแซมตัวเองและเกิดการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ เพิ่มการผลิตของสารหล่อลื่นข้อเข่าตามธรรมชาติช่วยลดแรงเสียดทานของข้อเข่าได้ ช่วยลดความรู้สึกเจ็บปวดให้กับผู้ป่วย โดยส่วนมากจะต้องฉีดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 2-3 สัปดาห์
สามารถเห็นผลการรักษาได้ตั้งแต่ 4-6 สัปดาห์ เป็นต้นไป
ฉีดยาเข้าข้อเข่า ราคาเท่าไร
- ฉีดยาเข้าข้อ ข้อเข่า ข้อนิ้ว ราคาเริ่มต้น 990 บาท
- ราคานี้ไม่รวมค่ายา และอาจปรับเปลี่ยนได้ตามคำวินิจฉัยของแพทย์

ใครที่เหมาะกับการฉีดยาเข้าข้อ
- ผู้ป่วยที่ข้อเข่ายังไม่เสียหายหรือผิดรูปมาก ไม่มีอาการติดเชื้อที่ผิวหนังหรือข้อเข่า
- ผู้ที่รับประทานยาบรรเทาอาการปวดร่วมกับการทำกายภาพแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น
- ผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้
วิธีการฉีดยาเข้าข้อทำอย่างไร

- ผู้ป่วยจะถูกจัดให้อยู่ในท่าที่เหมาะสมจากนั้นทำความสะอาดบริเวณที่จะทำการฉีดด้วยแอลกอฮอล์หรือไอโอดีน
- ก่อนฉีดอาจจะใช้การอัลตราซาวด์เพื่อความแม่นยำในการฉีด
- ในบางกรณีแพทย์อาจฉีดยาชาเฉพาะที่เพื่อลดความเจ็บปวดตามความเหมาะสม
- หากในข้อเข่ามีของเหลวมาก แพทย์จะทำการดูดระบายของเหลวออกมาก่อน
- จากนั้นจึงทำการฉีดยาเข้าข้อ เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนแพทย์จะนำเข็มออก ทำความสะอาดบริเวณที่ฉีดอีกครั้งและพันผ้าพันแผล
- ในกรณีการฉีดเกล็ดเลือดเข้าข้อจะมีขั้นตอนการเก็บตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยและการปั่นแยกชั้นเกล็ดเลือดก่อนทำการฉีดซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 15 นาที
ฉีดยาเข้าข้อต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

- แจ้งประวัติสุขภาพ โรคประจำตัว การใช้ยา โดยเฉพาะยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน วาร์ฟาริน
- หลีกเลี่ยงการทาครีมหรือโลชั่นบริเวณข้อในวันที่ฉีดยา ป้องกันการระคายเคืองหรือติดเชื้อ
- สวมใส่เสื้อผ้าที่ถกขึ้นหรือเปิดบริเวณข้อได้ง่าย เช่น กางเกงขาสั้นหากจะฉีดที่เข่า
- พักผ่อนให้เพียงพอและไม่เครียด
- หลีกเลี่ยงใช้ยาหรือหลีกเลี่ยงการรักษาประเภทอื่นๆ
ฉีดแล้วอยู่ได้นานแค่ไหน
- ฉีดสเตียรอยด์ ออกฤทธ์ประมาณ 6 ถึง 12 สัปดาห์
- กรดไฮยาลูโรนิก(Hyaluronic Acid – HA) อยู่ได้นานประมาณ 3 ถึง 6 เดือน
- เกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP – Platelet-Rich Plasma) อยู่ได้นานประมาณ 6 -12 เดือน
ฉีดยาเข้าข้อเจ็บไหม
ขณะฉีดยาเข้าข้ออาจรู้สึกเหมือนถูกบีบหรือแสบร้อนได้ หลังฉีด1-2 วันอาจมีอาการปวดและบวมบริเวณที่ฉีดได้ หลังจากนั้นอาการปวดจะค่อยๆดีขึ้น
คำแนะนำของแพทย์
คำแนะนำหลังฉีดยาเข้าข้อเข่า
- หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อเข่าหลังฉีดยาประมาณ 2 – 3 วัน หรือจนกว่าอาการระบมจากการฉีดยาจะหายไป
- หากมีอาการปวดบวมหลังฉีดสามารถประคบเย็นวันละ 2 – 3 ครั้ง และรับประทานยาบรรเทาอาการปวด เช่น พาราเซตามอล เพื่อช่วยลดอาการปวดและบวมหลังฉีดได้
- รีบมาพบแพทย์หากพบความผิดปกติ เช่น มีผื่นหรือปวดบวมแดงร้อนรุนแรง

“การฉีดยาเข้าข้อจะได้ผลดีหากทำร่วมกับการทำกายภาพและลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ลดน้ำหนักตัว อิริยาบถประจำวัน เลี่ยงกิจกรรมที่ใช้ข้อเข่ามากๆ รวมทั้งการออกกำลังกาย ฝึกกล้ามเนื้อบริเวณเข่า
นอกจากนี้ผลลัพธ์ในการรักษายังแตกต่างกันออกไปในผู้ป่วยแต่ละราย ในบางรายที่รักษาแล้วไม่ได้ผลดี แพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยวิธีการอื่นๆ ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยต่อไป “
คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาของแพทย์
– แพทย์หญิงวรางคณา วิวัลย์ศิริกุล (แพทย์ประจำคลินิก) –

พญ.วรางคณา วิวัลย์ศิริกุล
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 18/04/2025
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com