วิธีเลี้ยงลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่หลังคลอด ซึ่งวิธีเลี้ยงลูกแรกเกิดเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะการให้นมบุตร การฝึกการนอนหลับ และการดูแลสุขภาพ รวมถึงการตรวจหลังคลอดเพื่อความมั่นใจว่าทั้งคุณแม่และทารกจะปลอดภัย
วันนี้อินทัชเมดิแคร์เลยมัดคู่มือการเลี้ยงลูก รวมเคล็ดลับดีๆสำหรับคุณแม่มือใหม่ เลี้ยงลูกเองมาฝากกัน
7 วิธีเลี้ยงลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่หลังคลอด
- การให้นมลูกและโภชนาการ
- วิธีอุ้มและจับลูกอย่างถูกต้อง
- เทคนิคช่วยให้ทารกหลับสนิท
- การดูแลความสะอาดร่างกายทารก
- การดูแลสุขภาพลูกน้อย
- สภาพแวดล้อมในการเลี้ยงลูก
- ข้อควรระวังในการเลี้ยงทารก
การให้นมลูกและโภชนาการ
การให้นมลูก
นับเป็นสิ่งแรกและเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ซึ่งน้ำนมแม่นั้นก็มีผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยในหลายๆส่วน อีกทั้งหลังคลอดทารกแรกเกิดยังจำเป็นต้องดื่มนมบ่อยๆ ควรให้ลูกดูดทุก 2-3 ชั่วโมง หรือเมื่อลูกต้องการ แม้ว่าลูกจะหลับอยู่ ก็ต้องปลุกลูกขึ้นมากินนม และดื่มไม่น้อยกว่าครั้งละ 10-15 นาที
ส่วนอาหารเสริมอื่น ๆ ควรให้เริ่มทานในช่วง 6 เดือนหลังคลอดเป็นต้นไป

น้ำนมแม่มี 3 ชนิด คือ
- น้ำนมเหลือง (ช่วง 2-4 วันแรกหลังคลอด) มีโปรตีน แร่ธาตุ และภูมิต้านทานสูง ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและลดอาการตัวเหลืองในทารก
- น้ำนมระยะปรับเปลี่ยน (ช่วง 7-10 วัน ถึง 2 สัปดาห์หลังคลอด) มีน้ำตาล ไขมัน วิตามิน และพลังงานเพิ่มขึ้น
- น้ำนมแท้ (หลัง 10 วัน หรือ 2 สัปดาห์เป็นต้นไป) มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก 87% พร้อมสารอาหารครบถ้วนสำหรับการเจริญเติบโตของทารก
ข้อควรระวังในการให้นมลูก: ในช่วง 6 เดือนแรกไม่ได้จำเป็นต้องให้น้ำลูกดื่มบ่อย เพราะจะทำให้ลูกดื่มนมแม่ได้น้อยลง และส่งผลให้น้ำหนักตัวลูกน้อยกว่าเกณฑ์ และอาจทำให้ลูกติดเชื้อได้
อาหารที่คุณแม่ควรรับประทาน
อาหารที่ควรกินขณะให้นมลูก คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่ เนื่องจากอาหารที่คุณแม่รับแระทานนั้นมีผลต่อการสร้างน้ำนมให้ลูกน้อย ได้แก่
- นมจืด วันละ 2-3 แก้ว
- เนื้อปลา
- ตับ มื้อละ 4 ช้อนกินข้าว ตับมีวิตามินเอซึ่งมีส่วนในการสร้างน้ำนม
- ผักที่ช่วยในการเพิ่มน้ำนม เช่น งาดำ กุ้ยช่าย ขิง ใบแมงลัก กะเพรา ฟักทอง มะรุม ผักกาดหอมและ หัวปลี เป็นต้ม
- ผลไม้ ควรรับประทานเป็นของว่างทุกวัน โดยเลือกทานให้หลากหลายตามฤดูกาล เพื่อป้องกันท้องผูก
- ไข่เป็ดหรือไข่ไก่ วันละ 1 ฟอง
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เช่น คาเฟอีน อาหารหมักดอง อาหารทะเล อาหารรสจัด และควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานยาหรืออาหารเสริม
วิธีอุ้มและจับลูกอย่างถูกต้อง
การอุ้มลูกน้อยก็ถือเป็นวิชาพื้นฐานในการเลี้ยงลูก ซึ่งการอุ้มก็มีหลายแบบ โดยหลักๆที่คุณมือใหม่คุณรู้ ได้แก่
การอุ้มแบบปกติ
- จับทารกให้อยู่ในท่าตะแคง โดยให้ศีรษะแนบกับหน้าอกของคุณแม่
- รองรับศีรษะและคอ วางท้ายทอยของทารกบนข้อพับแขน เพื่อช่วยพยุงศีรษะให้อยู่ในตำแหน่งที่มั่นคง
- ใช้แขนประคองลำตัว ให้แขนทอดไปตามแนวลำตัวของทารก
- รองรับก้นและขา ใช้มืออีกข้างอุ้มบริเวณก้นและช่วงขา เพื่อช่วยกระจายน้ำหนักให้สมดุล
- จัดแนวศีรษะ คอ และลำตัวให้อยู่ในแนวเดียวกัน เพื่อความสบายและปลอดภัยของทารก
การอุ้มเพื่อให้ลูกเรอ
ในทารกไม่ถึง 6 เดือน ควรให้ลูกเรอทุกครั้งหลังจากเปลี่ยนข้างเต้านม และหลังให้นมลูกเสร็จ โดยเฉพาะในเด็กที่มีการดื่มนมผง ควรจับเรอ ทุก 1 ออนซ์ จนหมดขวด ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้มีแก๊สในกระเพาะมากเกินไป

ท่าที่ 1: อุ้มพาดบ่า
- อุ้มทารกพาดบ่าของคุณแม่หรือคุณพ่อ
- ให้หน้าท้องของทารกกดลงบนหัวไหล่ เพื่อช่วยไล่ลม
- ใช้มือข้างหนึ่งพยุงศีรษะและคอ อีกข้างลูบหลังหรือเคาะเบาๆ

ท่าที่ 2: อุ้มนั่งบนตัก
- ให้นั่งทารกบนตัก โดยหันหน้าออก
- ใช้มือข้างหนึ่งจับพยุงหน้าอกทารก อีกข้างลูบหลังหรือเคาะเบาๆ
- โน้มตัวทารกไปข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อให้หน้าท้องถูกกดและช่วยไล่ลมออก
การอุ้มเพื่อปลอบลูก
อุ้มในท่าที่สบาย ใช้ท่าคล้ายกับการอุ้มเรอ โดยให้ศีรษะและลำตัวของทารกได้รับการพยุงอย่างเหมาะสม เป็นการอุ้มกอดแนบอกเพื่อให้ทารกรู้สึกปลอดภัย คุณแม่อาจพูดคุยหรือร้องเพลงเบาๆ โดยใช้น้ำเสียงนุ่มนวลเพื่อปลอบโยน รวมถึงอาจฮัมเพลงหรือเปิดเสียงที่ช่วยให้ทารกรู้สึกสงบ
คำแนะนำเพิ่มเติม: อาจลูบหลังหรือกอดเบาๆ เพื่อให้ทารกรู้สึกอบอุ่น โยกตัวช้าๆ หรือเดินไปมาเพื่อช่วยให้ทารกผ่อนคลาย

เทคนิคช่วยให้ทารกหลับสนิท
โดยปกติแล้วทารกจะค่อนข้างตื่นง่ายและหลับยาก เนื่องจากไม่คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมนอกท้องแม่ ซึ่งอาจทำให้คุณแม่หลาย ๆ ท่านพักผ่อนได้ไม่เพียงพอ วิธีช่วยให้ลูกน้อยหลับง่ายขึ้นมีดังนี้
- สร้างบรรยากาศให้เหมาะกับการนอน ไม่มีเสียงรบกวน หรือแสงจ้า
- ใช้เพลงคลอเบาๆ เสื้อผ้าที่อบอุ่น
- ให้ลูกน้อยดื่มนมให้เป็นเวลา
- เล่นกับลูกในช่วงกลางวัน หลีกเลี่ยงการเล่นในช่วงกลางคืน เพื่อที่จะได้หลับง่ายขึ้นในช่วงเวลากลางคืน
- การลูบหลังหรือตบก้นลูกเบาๆ
- หากลูกตื่นกลางดึก อย่างพึ่งให้ดื่มนม ลองสังเกตุว่าลูกร้องไห้เพราะอะไร เช่น ผ้าอ้อมเต็ม แมลงกัด
การดูแลความสะอาดร่างกายทารก
วิธีอาบน้ำและเช็ดตัวลูก
ควรอาบน้ำลูกน้อยด้วยน้ำอุ่นทุกวัน และสระผมให้ลูกน้อยวันละ 1 ครั้ง ควรเลือกอาบในช่วงที่อาการอุ่น เช่น ช่วงสาย หรือบ่าย และระวังอย่าให้มีลมโกรในบริเวณที่อาบน้ำให้ลูก และควรเลือกใช้ใช้สบู่ที่มีความอ่อนโยนต่อผิวลูก
การเช็ดสะดือเพื่อป้องกันติดเชื้อ
สายสะดือของลูกน้อยสามารถโดนน้ำได้แม้จะยังไม่หลุดก็ตาม ซึ่งสายสะดือจะเริ่มหลุดในช่วง 5 วันหลังคลอด ไปจนถึง 2 สัปดาห์ โดยในช่วงก่อนสายสะดือจะหลุด จะสังเกตุได้จากการที่โคนสะดือมีน้ำเหลือง หรือเลือดเก่าๆ ไหลออกมา
ให้คุณแม่ทำความสะอาดบ่อยๆ และทำความสะอาดทุกครั้งหลังอาบน้ำ ด้วยชำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% โดยควรเช็ดให้สะอาดจนถึงบริเวณโคนสะดือ เช็ดสะดือวนจากด้านในออกมาด้านนอก โดยแนะนำให้ทำแบบนี้จนกว่าถึงช่วงที่สะดือแห้ง

การทำความสะอาดขวดนมและอุปกรณ์ต่าง ๆ
- ขวดนม จุกนม ควรล้างด้วยน้ำร้อน โดยควรล้างทำความสะอาดทันทีหลังใช้งานเสร็จ ใช้แปรงล้างควรนมทำความสะอาดด้วย แต่ไม่ควรล้างด้วยน้ำเกลือ จากนั้นล้างด้วยน้ำเย็นอีกครั้ง หากสังเกตว่าขวดนมชำรุดไม่เหมาะแก่การใช้งาน ควรเปลี่ยนเป็นขวดนมใหม่ แนะนำให้ทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยการต้ม อุ่นไมโครเวฟ หรือนึ่งในที่นึ่งขวดนม 20 นาที
- การซักเสื้อผ้าและของใช้ ควรแยกเสื้อผ้าของลูกซักแยกกับของพ่อแม่ และไม่ควรซักเสื้อผ้าเรอะรวมกันผ้าที่สะอาด และใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่อ่อนโยนไม่มีสารเคมีที่อันตรายผสม เพื่อป้องกันการแพ้ และอย่าลืมมซักผ้าให้ถูกตามฉลากหรือคำแนะนำ
การดูแลสุขภาพลูกน้อย
สังเกตุการขับถ่าย
- ทารกที่ดูดนมแม่ อุจจาระสีเหลือง เนื้อละเอียด ค่อนข้างเหลว หลังจากถ่ายขี้เทาใน 2-3 วันแรก อาจถ่ายบ่อยขึ้น หากดูดนมแม่บ่อย หากเด็ก สดชื่น น้ำหนักเพิ่มขึ้น ถือว่าเป็น เรื่องปกติ
- ทารกที่ดื่มนมผสม ทารกมักมีอุจจาระมักจะแข็งและเป็นก้อน
- หลังการถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ควรทำความสะอาดก้นและอวัยวะเพศ พร้อมเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง ควรทำความสะอาดจากหน้าไปหลังเพื่อป้องกันเชื้อโรคจากบริเวณทวารหนัก และควรทำความสะอาดอย่างเบามือ

ลูกตัวเหลืองทำยังไง
การที่ลูกน้อยตัวเหลืองสามารถพบได้บ่อย ในช่วงหลังคลอด 2-3 วันแรก เกิดจากรูบิลิน หากมีอาการตัวเหลืองไม่มากมักไม่ได้เป็นอันตราย คุณแม่สังเกตุอาการตัวเหลืองได้จากดวงตาและผิวหนังของลูกน้อย
แต่หากทารกมี ตัวเหลืองเข้ม เห็นชัดขึ้น มีอาการ ซึมลง ไม่ค่อยดูดนม ควรพาลูกน้อยมาแพทย์เพื่อรับการรักษา เช่น การส่องไฟ เพื่อช่วยให้ร่างกายขับสารตัวเหลืองออกทางอุจจาระและปัสสาวะ
สภาพแวดล้อมในการเลี้ยงลูก
- มีความปลอดภัย ควรมีพื้นที่ปลอดภัยไม่มีสิ่งของหรือสารพิษที่อาจเป็นอันตราย
- มีอากาศถ่ายเทสะดวก ควรจัดพื้นที่ให้มีอากาศบริสุทธิ์และไม่แออัด แต่ห้องไม่ควรโล่งเกินไป เพราะอาจส่งผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยให้ล่าช้า
- พื้นที่เลี้ยงลูกต้องสะอาด ควรรักษาความสะอาด ไม่มีเชื้อโรคหรือละอองฝุ่นที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้
- มีบรรยากาศอบอุ่นและสบาย ควรมีอุณหภูมิที่เหมาะสมไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป
- สร้างความสัมพันธ์กับลูก มีเวลาให้เวลากับลูกเพื่อสร้างความผูกพันและให้ความรู้สึกปลอดภัย
ข้อควรระวังในการเลี้ยงทารก
- ไม่หอมทารก โดยเฉพาะในช่วงที่อายุไม่ถึง 3 เดือน เพราะเสี่ยงต่อการป่วยและติดเชื้อโรค โดยโรคจากเชื้อไวรัส นั้นมีโอกาสติดต่อได้ง่าย เช่น เริม, RSV และไข้หวัดใหญ่
- ควรรักษาความอะอาดของตนเองก่อนสัมผัสทารก
- ไม่ควรพาทารกที่อายุยังไม่ถึง 3 เดือน ออกจากบ้าน เพราะภูมิคุ้มกันยังไม่เพียงพออาจเจ็บป่วยได้ แต่สามารถพาลูกน้อยเดินรอบๆบ้านเพื่อรับแสงแดดได้
- ไม่ควรละเลยเรื่องการฉีดวัคซีนให้ลูก ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงหากป่วยเป็นโรคที่ยากต่อการรักษา ดูวัคซีนที่เด็กควรฉีดตามช่วงวัย
- อย่าให้ทารกนอนคว่ำโดยเฉพาะทารกแรกเกิด เนื่องจากทารกอาจมีการหันหน้าไปมา อาจทำให้หมอนหรือผ้าห่มไปอุดกลั้นบริเวณจมูกและปาก และทำให้ทารกหยุดหายใจและเสียชีวิตได้ซึ่งอันตรายมาก
- ไม่วางของเล่นหรือของตกแต่งบนที่นอนทารกมากไป เพราะทารกอาจซุกที่ของเล่นหรือของชิ้นนั้นมากจนเกินไป และอาจไปอุดกลั้นบริเวณจมูกและปาก
- ควรใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับทารกเท่านั้น เพื่อป้องกันส่วนผสมที่ก่อให้เกิดอันตราย

คุณแม่มือใหม่หลังคลอดแล้วก็ต้องเรียนรู้วิธีเลี้ยงลูกแรกเกิด นอกจากการใช้สัญชาตญาณความเป็นแม่แล้ว การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมก็ช่วยให้คุณแม่มือใหม่ เลี้ยงลูกเองได้อย่างมั่นใจมากขึ้น และในเรื่องนี้ คุณพ่อเองก็สามารถเรียนรู้ไปพร้อมกันเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระและเสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว
นอกจากนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีของทั้งคุณแม่และลูกน้อย การตรวจหลังคลอดถือเป็นสิ่งสำคัญ คุณแม่จะได้เช็กสุขภาพร่างกายหลังการตั้งครรภ์ รวมถึงรับคำแนะนำจากแพทย์เกี่ยวกับการดูแลตัวเอง การให้นมบุตร และการวางแผนคุมกำเนิด ซึ่งช่วยให้การเลี้ยงลูกเป็นไปอย่างราบรื่นและมั่นใจมากยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง
- คู่มือการปฏิบัติตัวหลังคลอดและการดูแลทารกเมื่อกลับบ้านสำหรับคุณแม่, หอผู้ป่วยมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิด กลุ่มงานการพยาบาลโรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- คู่มือมารดาหลังคลอดและการดูแลทารก, กรมอนามัยโดยกองอนามัยการเจริญพันธุ์ และกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ
บทความที่น่าสนใจ
- บริการตรวจหลังคลอด ตรวจอะไรบ้าง คุณแม่มือใหม่ต้องรู้
- วิธีดูแลตัวเองหลังคลอด เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่
- วัคซีนเด็ก ตามช่วงวัยมีอะไรบ้าง และผลข้างเคียงที่พบได้หลังฉีด

นายอัชวิน ธรรมสุนทร
ผู้จัดการทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 24/02/2025
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com