ตรวจสารเสพติด เป็นรายการตรวจสำคัญทั้งในการสมัครงาน ตรวจสารเสพติดพนักงาน หรือในผู้ที่อยากตรวจสุขภาพของตนเองตัวเอง การวิธีตรวจสารเสพติด เช่น การตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด และตรวจเหงื่อ
บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าทำไมต้องตรวจ มีวิธีตรวจกี่แบบ เหมาะกับใคร และราคาเบื้องต้น เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเข้ารับบริการตรวจที่คลินิก
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับตรวจสารเสพติด
- ทำไมต้องตรวจสารเสพติด
- ตรวจสารเสพติด ประเภทไหนได้บ้าง
- ราคาตรวจหาสารเสพติด
- ตรวจหาสารเสพติดที่ไหนได้บ้าง
- วิธีตรวจสารเสพติด มีกี่วิธี
- ใครบ้างที่ต้องได้รับการตรวจสารเสพติด
- การเตรียมตัวก่อนตรวจ
ทำไมต้องตรวจหาสารเสพติด
การทดสอบสารเสพติดมีความสำคัญในด้านต่างๆ ได้แก่
-
ตรวจหายาเสพติดผิดกฎหมาย เช่น ยาบ้า กัญชา โคเคน เพื่อป้องกันและควบคุมการใช้สารเสพติดในสังคม
-
ป้องกันและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง เช่น นักเรียน ผู้ขับขี่ พนักงานในสายงานปลอดภัย เพื่อความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน
-
ช่วยวินิจฉัยทางการแพทย์ในกรณีฉุกเฉิน เช่น ผู้ป่วยมีอาการชัก หมดสติ หรือพิษจากสารไม่ทราบสาเหตุ
-
ใช้ในระบบงานและกฎหมาย เช่น สมัครงาน ตรวจในคดีความ หรือกรณีอุบัติเหตุ เพื่อความโปร่งใสและยุติธรรม
-
ติดตามผลการบำบัดและเลิกยาเสพติด เพื่อประเมินความคืบหน้าในการฟื้นฟู ป้องกันการกลับไปใช้ซ้ำ และช่วยวางแผนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถตรวจสอบความถี่และระดับการใช้สารเสพติดได้อย่างแม่นยำ
กรณีที่พบบ่อยที่สุดคือ ตรวจก่อนเริ่มงาน เพราะบริษัทต้องการพนักงานที่มีความพร้อมและมีประสิทธิภาพในการทำงาน การตรวจหาสารเสพติดจึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคัดเลือกพนักงานก่อนเริ่มงานค่ะ
ตรวจสารเสพติด ประเภทไหนได้บ้าง
การตรวจสารเสพติดสามารถทำได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับชนิดของสารที่ต้องการตรวจหา สารเสพติดที่ที่นิยมตรวจหาและได้รับความนิยม เช่น
- แอมเฟตามีน (Amphetamine)
- เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine)
- มอร์ฟีน / เฮโรอีน / ฝิ่น (Opiates)
- กัญชา (Cannabis / THC)
- โคเคน (Cocaine)
- เคตามีน (Ketamine)
- เบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines)
- MDMA (ยาอี / Ecstasy)
- สารจำพวก opiates (โอปิเอด/โอปิออยด์)
อ่านเพิ่มเติม: ประเภทของสารเสพติด มีอะไรบ้าง
ราคาตรวจหาสารเสพติด
-
ตรวจสารเสพติดทางปัสสาวะ 3 ชนิด ราคา 1,450 บาท
-
ตรวจสารเสพติดทางปัสสาวะ 5 ชนิด ราคา 790 บาท
-
ตรวจสารเสพติดทางปัสสาวะ/เลือด 7 ชนิด ราคา 5,990 บาท
-
ตรวจหาสารเสพติดทางปัสสาวะ 13 ชนิด ราคา 990 บาท
-
ตรวจหาสารเสพติดทางเหงื่อ 15 ชนิด ราคา 890 บาท
หมายเหตุ : ราคานี้รวมค่าแพทย์และค่าบริการแล้ว

ตรวจหาสารเสพติดที่ไหนได้บ้าง
ตรวจที่บ้าน
ในปัจจุบันมีหลายบริษัทผลิตชุดตรวจสารเสพติดขึ้นมา เพื่อความเป็นส่วนตัวและความสะดวกสบายต่อผู้ใช้ที่ไม่สะดวกเดินทาง ทั้งยังต้องการผลตรวจแบบรวดเร็ว ก่อนตัดสินใจซื้อควรเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์และวิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง
ตรวจที่คลินิก และสถานพยาบาล
การตรวจสารเสพติดที่คลินิก และสถานพยาบาล นอกจากผลการทดสอบที่แม่นยำก็จะเป็นเรื่องของความปลอดภัย สามารถซักถามเพื่อของคำแนะนำ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการเอกสารยืนยันการตรวจหรือมีอาการที่จำเป็นต้องใช้การประเมินเชิงลึก
วิธีตรวจสารเสพติด มีกี่วิธี
การตรวจหาสารเสพติดในร่างกายมี 5 วิธี การตรวจแต่ละวิธีจะหาสารเสพติดได้ต่างชนิดกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการตรวจ

-
แม่นยำกว่าการตรวจปัสสาวะ แต่ระยะเวลาที่มีโอกาสตรวจพบนั้นสั้น
-
ไม่สามารถตรวจด้วยตนเองได้ ต้องไปทำการตรวจกับผู้เชี่ยวชาญ ข้อผิดพลาดจึงน้อยกว่าวิธีอื่น
-
ใช้ระยะเวลาในการวิเคราะห์ และมีค่าใช้จ่ายสูง
-
มีให้บริการ
ตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ
- เป็นวิธีที่นิยมที่สุด บอกผลของสารเสพติดได้หลายชนิด
-
มี 2 ขั้นตอนคือ ตรวจเบื้องต้นและขั้นยืนยันผล อาจมีความยุ่งยากเล็กน้อยในการเก็บตัวอย่างปัสสาวะ (โดยทั่วไปเก็บปริมาณไม่ต่ำกว่า 30 มิลลิลิตร) แต่ราคาถูก ได้ผลรวดเร็ว ทั้งแบบซื้อที่ตรวจมาทดสอบเองและการไปตรวจกับสถานพยาบาล
-
มีให้บริการ
ตรวจสารเสพติดในเหงื่อ
-
ตรวจเหงื่อหาสารเสพติด หรือการตรวจแบบป้ายผิวหนัง
-
เป็นวิธีที่สะดวก ไม่ต้องกลัวเจ็บเหมือนการเจาะเลือด และตรวจสารได้ถึง 15 ชนิด
-
เหมาะใช้ตรวจในกรณีที่ต้องการ หาสารเสพติดย้อนหลังในช่วง 30 วัน
-
มีให้บริการ
ตรวจสารเสพติดในน้ำลาย
-
ใช้ตรวจการใช้สารเสพติดล่าสุด แทนการตรวจปัสสาวะ
-
มีความแม่นยำน้อย เสี่ยงปนเปื้อน วิธีการคือใช้การสำลีถูกด้านในกระพุ้งแก้ม
- ไม่ได้ให้บริการ
ตรวจสารเสพติดในเส้นผม
-
มักใช้ในกรณีบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดเรื้อรัง เพราะสามารถดูความถี่ ไปจนถึงรูปแบบการใช้ยาในช่วง 90 วัน หลังการใช้สารเสพติดครั้งล่าสุดได้ จึงมีราคาสูง
-
การเก็บตัวอย่างจะเก็บจากผมด้านหลังศีรษะ ใช้กรรไกรตัดให้ใกล้หนังศีรษะมากที่สุด
- ไม่ได้ให้บริการ
ใครบ้างที่ต้องได้รับการตรวจสารเสพติด
- ผู้ที่ต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมหรืออาชีพที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ขับขี่ยานพาหนะ
- ผู้ที่ต้องตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคหรือรับการรักษาและบำบัด
- ผู้ที่ต้องตรวจก่อนเข้ารับการฝึกอบรม เช่น การสมัครเข้าเรียนวิชาทหาร (รด.) และทหาร
- ผู้ที่ต้องใช้ผลตรวจเป็นหลักฐานทางกฎหมาย
- ผู้บริจาคโลหิต เพื่อป้องกันความเสี่ยงการติดเชื้อในเลือด
การเตรียมตัวก่อนตรวจ
- ทำความเข้าใจวัตถุประสงค์การตรวจ หรือนโยบายตามแต่ละองค์กรที่ต้องนำผลไปยืนยันว่าต้องครอบคลุมสารกี่ประเภท และเลือกวิธีให้เหมาะสม
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเสริม หรือวิตามินบางชนิด อย่างน้อย 3 วันก่อนการตรวจ
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ แต่ไม่ควรดื่มมากเกินไป ปัสสาวะจะเจือจาง
การตรวจร่างกายหาสารเสพติดซึ่งได้ผลแม่นยำ สามารถตรวจได้ทั้งในเลือดและปัสสาวะ และเหงื่อสำหรับใครที่สนใจเข้ารับการทดสอบสารเสพติด เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการดำเนินเรื่องต่าง ๆ เช่น ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน สมัครเรียน รด. ฯลฯ
ตรวจสารเสพติด ที่อินทัชเมดิแคร์ พร้อมวิธีตรวจที่หลายหลายไม่ว่าจะเป็น ตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ ตรวจสารเสพติดในเลือด หรือตรวจสารเสพติดทางเหงื่อ พร้อมออก ใบรับรองแพทย์ตรวจสารเสพติด (ใบรับรองแพทย์ 5 โรค) สำหรับใช้สมัครงาน ฝึกอบรม หรือเอกสารทางกฎหมายอื่นๆ
บทความที่น่าสนใจ
- ประเภทของสารเสพติด มีอะไรบ้าง
- ตรวจสารเสพติดทางเหงื่อ ที่คลินิก
- ตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด ตรวจหาอะไรได้บ้าง
- ตรวจเลือดหาสารเสพติด รู้ผลแม่นยำ ที่คลินิก
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

นายอัชวิน ธรรมสุนทร
ผู้จัดการทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 21/05/2025
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com