การทำงานในสถานที่อับอากาศเป็นเรื่องที่ท้าทายและต้องการความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่จำกัดและมีความเสี่ยงสูงเนื่องจากต้องทำงานในพื้นที่ขนาดจำกัด, มืด, อับ,ชื้น ออกซิเจนน้อย
ดังนั้น การตรวจสุขภาพที่อับอากาศของผู้ปฏิบัติงานเป็นสิ่งจำเป็น
เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจในการทำงานในสภาวะที่ท้าทายและสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่น
ข้อมูลสำคัญที่ต้องรู้ก่อนตรวจสุขภาพที่อับอากาศ
ความสำคัญของใบรับรองแพทย์พื้นที่อับอากาศ
-
เพื่อความปลอดภัยของพนักงาน เพราะการทำงานในที่อับอากาศมีความอันตรายและความเสี่ยงสูง ใบรับรองแพทย์จะช่วยยืนยันว่าพนักงานมีสุขภาพดีพอสำหรับงานนี้
-
เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากสภาพร่างกายที่ไม่พร้อม
-
เพื่อเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าผู้ปฏิบัติงานต้องมีใบรับรองแพทย์อับอากาศเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายและมาตรฐานความปลอดภัย
-
เพื่อความมั่นใจของนายจ้างและเพื่อนร่วมงาน ในความสามารถที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพของพนักงาน
-
เพื่อติดตามสุขภาพของพนักงานและป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานในที่อับอากาศ ถือเป็นการดูแลสุขภาพในระยะยาว
อาชีพที่แนะนำให้ตรวจสุขภาพในสถานที่อับอากาศ
รายการตรวจสุขภาพในสถานที่อับอากาศ
1. ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ (Physical Examination)
เป็นคำถามคัดกรองถึงความเสี่ยงในการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ได้แก่ โรคที่เกี่ยวกับหัวใจ หอบหืด ความผิดปกติของระบบประสาท ระบบเลือดต่างๆ ซึ่งประวัติโรคดังกล่าวเป็นสิ่งจำสำคัญ เพื่อประเมินว่าผู้ปฏิบัติงานมีความพร้อมทางร่างกายต่อการปฏิบัติงานเพียงใด รวมไปถึงลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากการปฏิบัติงานอีกด้วย
2. ใบรับรองแพทย์ทำงานพื้นที่อับอากาศ (Medical Certificate For Working In Confined Space)
ผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพจะได้รับใบรับรองแพทย์สำหรับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศโดยเฉพาะ โดยมีรายการตรวจตามที่กฎกระทรวงกำหนด นายจ้างสามารถอ้างอิงความเห็นของแพทย์ตามข้อมูลในรับรองแพทย์ เพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศได้
3. เอกซเรย์ปอด (Chest X-ray)
ช่วยคัดกรองภาวะอักเสบในเนื้อปอดจากสารเคมี ช่วยคัดกรองการติดเชื้อในปอดในระยะแพร่กระจาย เช่น วัณโรคระยะแพร่กระจาย ซึ่งเป็นภาวะมีความเสี่ยง ไม่ควรปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ
4. การตรวจสายตาเบื้องต้น (Visual Acuity Test)
เป็นการตรวจสมรรถภาพการมองเห็นระยะไกล ทั้งสองตา หากผู้ที่มีความผิดปกติทางสายตาเกินค่าที่ยอมรับได้ จะต้องทำการแก้ไขโดยการสวมแว่นหรือคอนแทคเลนส์ให้สามารถมองเห็นได้ชัด จึงจะสามารถปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศได้
5. ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
ภาวะโลหิตจางรุนแรงจะทำให้หมดสติในสถานที่อับอากาศได้ง่าย จึงต้องมีการตรวจปริมาณเกล็ดเลือด ผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำ จะมีความเสี่ยงต่อการเลือดออก หรือเสียเลือดมาก จากการกระทบกระแทกได้ง่าย เมื่อปฏิบัติงานในสถานที่คับแคบ
6. ตรวจการตั้งครรภ์ (Pregnancy Test)
สำหรับผู้ปฏิบัติงานหญิงที่การตั้งครรภ์อยู่ไม่ควรปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ เนื่องจากสถานที่แคบและอากาศไม่ไหลเวียน ทำให้มีโอกาสได้รับสารเคมีต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานได้มากกว่าปกติ เช่น ไอตะกั่ว ตัวทำละลายในสีหรือกาว ซึ่งส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้
7. ตรวจการได้ยิน (Audiometric Test)
การปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศจำเป็นจะต้องได้ยินเสียงเตือนของผู้ร่วมงาน รวมถึงสัญญาณเตือนต่างๆได้อย่างชัดเจน ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น หากมีปัญหาทางการได้ยิน ไม่ควรปฏิบัติงานในสถานที่อับกาศ และควรตรวจหาสาเหตุและรักษา กับแพทย์หู คอ จมูกต่อไป
8. ตรวจสมรรถภาพปอด (Pulmonary Function Testing)
เป็นการตรวจเป่าลมหายใจผ่านเครื่องมือตรวจวัด เพื่อประเมินการขยายตัวของปอด จากปริมาตรและอัตราการไหลของลมหายใจ หากมีความผิดปกติในการขยายตัว หรือผิดปกติแบบอุดกลั้นแบบปานกลางถึงรุนแรง ไม่ควรทำงานในสถานที่อับอากาศ ควรพบอายุรแพทย์ทรวงอกเพื่อทำการตรวจหาสาเหตุและรักษาต่อไป
9. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram)
ช่วยคัดกรองโรคหัวใจบางชนิดที่อาจเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติงาน เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด ,ภาวะหัวใจโต รวมไปถึงภาวะการนำสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจถูกขัดขวางบางชนิด ผู้ที่มีภาวะดังกล่าว ไม่ควรปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ
ราคาค่าบริการในการตรวจสุขภาพ
ค่าบริการตรวจสุขภาพเพื่อใบรับรองแพทย์ทำงานพื้นที่อับอากาศ ดังนี้
-
ค่าบริการตรวจสุขภาพ ผู้ชาย 1,790 บาท
-
ค่าบริการตรวจสุขภาพ ผู้หญิง 1,890 บาท
หมายเหตุ : กรณีที่มีความประสงค์ต้องการใบรับรองแพทย์ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศภาษาอังกฤษ มีค่าบริการเพิ่มเติม 450 บาท
ระยะเวลาการตรวจและรายงานผล
-
ระยะเวลาของการเข้าตรวจสุขภาพ ใช้เวลา 45 – 60 นาที โดยประมาณ ตั้งแต่การซักประวัติ เจาะเลือดเก็บตัวอย่างปัสสาวะ จนถึงพบแพทย์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้รับบริการอาจส่งผลให้บางขั้นตอนใช้เวลาไม่เท่ากัน เช่น ขั้นตอนการวัดสมรรถภาพปอด (เป่าปอด)
-
ระยะเวลารอรับใบรายงานผลตรวจสุขภาพ 1-3 วันทำการ
มีบริการส่งผลตรวจ ไม่ต้องมารับเอง คิดค่าส่งตามระยะทางจริง
ตัวอย่างผลตรวจสุขภาพ ทำงานในสถานที่อับอากาศ
วิธีขอใบรับรองแพทย์ทำงานในที่อับอากาศ
-
นัดหมายก่อนเข้ารับบริการได้ทางโทรศัพท์หรือออนไลน์ทุกช่องทาง หรือจะ walk in ก็ได้
-
เตรียมเอกสารประจำตัว ได้แก่ บัตรประชาชนและประวัติการแพทย์ (ถ้ามี)
-
เข้ารับการตรวจร่างกายตามที่แพทย์กำหนดซักประวัติ เจาะเลือด เก็บตัวอย่างปัสสาวะ การสมรรถภาพปอด ตรวจคลิ่นไฟฟ้าหัวใจ และอื่นๆเพิ่มเติมตามความเห็นแพทย์
-
เนื่องจากใบรับรองแพทย์พื้นที่อับอากาศจะไม่ได้รับผลตรวจเลย ผู้รับบริการสามารถแจ้งวิธีการรับผลตรวจกับคลินิกได้ คือ รับผลตรวจทางอีเมล รับผลตรวจทางไปรษณีย์ (มีค่าบริการเพิ่มเติม) หรือจัดส่งด่วนกับบริษัทขนส่งต่างๆ (คิดค่าส่งตามระยะทางจริง)
คำถามคำตอบเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพ
สถานพยาบาลที่สามารถออกใบรับรองแพทย์ได้
-
คลินิกและโรงพยาบาลที่มีแผนกตรวจสุขภาพหรือมีแพทย์ที่ได้รับการรับรองในการออกใบรับรองแพทย์ พื้นที่อับอากาศ
ใบรับรองแพทย์ที่อับอากาศ มีอายุกี่เดือน
-
ใบรับรองแพทย์สำหรับการทำงานในพื้นที่อับอากาศมักมีอายุใช้งานประมาณ 1 เดือน ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละองค์กร
ตรวจสุขภาพพื้นที่อับอากาศเตรียมตัวอย่างไร
-
ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร และเตรียมเอกสารส่วนตัว เช่น บัตรประชาชนและประวัติสุขภาพเก่า (ถ้ามี)
การตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน การเตรียมความพร้อมและการตรวจสอบสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเป็นการป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น ช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
หากสนใจตรวจสุขภาพอับอากาศ เพื่อขอใบรับรองแพทย์ พื้นที่อับอากาศ สามารถใช้บริการหรือขอคำปรึกษาได้จากอินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมทุกสาขาใกล้บ้าน โดยค้นหาจากคลินิกใกล้ฉันใน Google หรือสอบถามโดยตรงจากช่องทางการติดต่อที่ให้ไว้บนหน้าเว็บไซต์
อ้างอิง : Guideline for Health Examination of Confined-space Workers (2561). มูลนิธิสัมมาอาชีวะ
บทความที่น่าสนใจ
นายแพทย์จิตรทิวัส อำนวยผล
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 25/10/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com